Sweeney Todd The Demon Barber of Fleet Street บาร์เบอร์หฤโหดแห่งฟลีทสตรีท

Sweeney Todd The Demon Barber of Fleet Street บาร์เบอร์หฤโหดแห่งฟลีทสตรีท


MDb Rating 7
PG-13 USA
Genre: ,,
Original title: Sweeney Todd The Demon Barber of Fleet Street บาร์เบอร์หฤโหดแห่งฟลีทสตรีท

เรื่องย่อ

ภาพยนตร์เพลงอเมริกันแนวเขย่าขวัญ ปี พ.ศ. 2550 ที่ได้รับการดัดแปลงจากละครเพลงชื่อเดียวกันของสตีเฟน ซอนด์ไฮม์ และฮิวจ์ วีลเลอร์ เป็นเรื่องเล่าที่อ้างอิงตำนานประโลมโลกสมัยวิกตอเรีย โดยมีชายที่ชื่อว่าสวีนนีย์ ทอดด์ เป็นตัวเอก เขาคือช่างตัดผมชาวอังกฤษ ที่เกิดขาดสติหลังจากเสียภรรยาและบุตรสาวไปให้กับผู้พิพากษาฉ้อฉลนามว่าเทอร์พิน จนก่อการฆาตกรรมต่อเนื่องด้วยการใช้มีดโกนปาดคอลูกค้าของตัวเอง โดยร่วมมือกับนางเลิฟเวตต์ ผู้ที่คอยแปรรูปศพที่ถูกฆ่าทุกศพให้กลายเป็นพายเนื้อเพื่อใช้จำหน่ายในร้านของเธอที่กำลังประสบปัญหาด้านเงินทุน ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ทิม เบอร์ตัน ซึ่งเขาได้รับการมอบหมายจากบริษัท ดรีมเวิร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2549 ให้มากำกับแทนผู้กำกับภาพยนตร์ แซม เมนเดส เบอร์ตันได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานชิ้นนี้มาจากความประทับใจที่ได้ชมละครเวทีของซอนด์ไฮม์เรื่องเดียวกันนี้ ตอนที่ยังเป็นนักเรียน และเมื่อครั้งที่ได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ในเวอร์ชันต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ซึ่งในกระบวนการสร้าง ซอนด์ไฮม์ก็ได้มาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการถ่ายทำด้วย ในส่วนของนักแสดงนำ ผู้ที่รับบทเป็นสวีนนีย์ ทอดด์ คือ จอห์นนี เดปป์ และนางเลิฟเลตต์รับบทโดย เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์ โดยก่อนการแสดง เดปป์ ซึ่งเป็นผู้ที่ร้องเพลงไม่เป็น ต้องไปฝึกการร้องเพลงเพื่อเตรียมตัวในการสวมบทบาทนี้ โดยหลังจากที่ภาพยนตร์ออกฉาย การร้องเพลงของเขาก็ได้รับการยอมรับจากนักวิจารณ์ว่าเหมาะสมกับบท แต่ก็มีบางคำวิจารณ์ที่กล่าวว่ายังถือเป็นการร้องเพลงที่ขาดความมั่นคงด้านคุณภาพอยู่ สวีนนีย์ ท็อดด์ ออกฉายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 (ส่วนในประเทศไทยออกฉายเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551) โดยได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม อย่างไรก็ตาม การที่วอร์เนอร์บราเธอร์สตัดสินใจไม่โฆษณาภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็นภาพยนตร์เพลง ก็ทำให้ผู้ชมบางคนไม่พอใจและวิจารณ์ว่า การโฆษณาเช่นนี้เป็นความตั้งใจที่จะทำให้ผู้ชมเข้าใจผิดในประเภทของภาพยนตร์ ในด้านของความสำเร็จ ภาพยนตร์ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้ในสหรัฐอเมริกา แต่รายได้ที่ได้รับจากระดับนานาชาติถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งนอกจากรายได้หลักจากการฉายภาพยนตร์แล้ว ก็ยังสามารถสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ หรือดีวีดีภาพยนตร์รูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนด้านรางวัลที่ได้รับก็ถือว่าประสบความสำเร็จค่อนข้าง โดยได้รับจากทั้งเวทีประกวดหลากหลายระดับ เช่น รางวัลออสการ์ สาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม, รางวัลลูกโลกทองคำ (สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์เพลงหรือตลก) เป็นต้น


หนังน่าสนใจ